ทำความรู้จัก โรคไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย โรคที่พบในหน้าร้อน
โรคไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย เป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ที่ปนเปื้อนมากับน้ำดื่มและอาหารที่ไม่สะอาด ถือว้าเป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ วันนี้ หมีหมี จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย ว่ามีความอันตรายมากน้อยเพียงใด

ลักษณะอาการของโรคไข้ไทฟอยด์
โดยปกติแล้ว อาการในระยะฟักตัวจะอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก และอาการจะแสดงในช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 หลังจากการได้รับเชื้อ โดยมีอาการดังต่อไปนี้
- มีไข้ต่ำ จากนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และในเวลากลางคืนอุณภูมิร่างกายอาจพุ่งสูงถึง 40.5 องศาเซลเซียสได้
- ไอแห้ง ๆ
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
- เบื่ออาหาร
- ผื่นขึ้นท้อง หรือหน้าอก
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลีย
อันตรายของโรคไข้ไทฟอยด์
ผู้ป่วยโรคไข้ไทฟอยด์สามารถหายได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะจากแพทย์ โดยหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงอาการแทรกซ้อนที่อันตรายได้ดังนี้
- มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
- ระบบย่อยอาหารหรือลำไส้เป็นรูทะลุ
- ปอดบวม
- เยื่อบุหัวใจอักเสบ
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- เกิดการติดเชื้อในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
การป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ ซึ่งให้ผลในการป้องกันได้เพียงแค่ 2 ถึง 5 ปี
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ ล้างก่อนการรับประทานอาหาร
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น
- ผู้ป่วยควรรีบรักษาตัวเองให้หาย รับประทานยา และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่ง และระมัดระวังไม่แพร่เชื้อด้วยการสัมผัส
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายกับชีวิตคุณ รวมถึงเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ดื่มน้ำที่สะอาด หากพบความผิดปกติในร่างกาย ควรรีบพบแพทย์ทันที และเพิ่มความอุ่นใจคือการทำประกันสุขภาพ เพื่อมีไว้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล โดย ประกันสุขภาพมนุษย์เงินเดือน คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุดถึง 400,000 บาท ผ่อน 0% สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง