โรคอะนอเร็กเซีย คืออะไร
ถ้าคุณคือคนที่ หมกมุ่นอยู่กับการนับแคลอรี่ ลดน้ำหนักอย่างตะบี้ตะบัน ไม่มีสมาธิหรือคิดถึงเรื่องอื่น และรู้สึกไม่ชอบรูปร่างตัวเองขึ้นมา ใช่ชีวิตล่องลอย ไม่พอใจในตัวเอง อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังป่วยเป็นโรคอะนอเร็กเซีย ว่าแต่โรคนี้คืออะไร มีความคิดแบบไหนถึงเสี่ยงป่วยเป็นโรคคลั่งผอมนี้
โรคอะนอเร็กเซีย คืออะไร
อะนอเร็กเซีย (Anorexia) เป็นโรคทางสุขภาพจิต ที่เกิดจากการกินที่ผิดปกติ เลือกที่จะควบคุมน้ำหนักและรักษารูปร่างจนทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุจากพฤติกรรมการ เช่น จำกัดปริมาณอาหาร ล้วงคอเพื่อาเจียน ใช้ยาลดน้ำหนัก ยาระบาย หรือแม้แต่การออกกำลังกายอย่างหนัก
และที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือ ผู้ที่ป่วยโรคนี้ มักป่วยเป็นโรคทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล และทั้งหมดทั้งมวลทำให้ร่างกายอ่อนแอ เช่น โลหิตจาง กระดูกพรุน หัวใจอ่อนแอ ไตวาย นำไปสู่การเสียชีวิตได้
อาการของโรคอะนอเร็กเซีย
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอะนอเร็กเซีย เกิดจากพฤติกรรมข้างต้น ทำให้มีรูปร่างผอมแห้ง ไม่มีกล้ามเนื้อและไขมัน น้ำหนักตัวลดลงมากเกินไป กระดูกเปราะ แขน-ขาบวม รู้สึกเมื่อยล้า เวียนศีรษะอยู่บ่อยๆ นิ้วเขียวซีด ปากแห้ง ผิวแห้งและเหลือง ผมบางและร่วง ท้องผูก ประจำเดือนไม่มา เม็ดเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะและเต้นช้าผิดปกติ
อีกทั้งยังส่งผลต่ออารมณ์ ผู้ป่วยจึงมีอาการคิดฟุ้งซ่านและหมกมุ่นอยู่กับอาหารที่จะทานในแต่ละวัน เบื่ออาหาร แยกตัวออกจากสังคม รู้สึกซึมเศร้า ความสนใจทางเพศลดลง และหนักที่สุดอาจคิดฆ่าตัวตาย
วิธีรักษาและบำบัด
ผู้ที่ป่วยโรคอะนอเร็กเซีย มักไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย จึงอยากที่จะบำบัดรักษาเอง จึงจำเป็นต้องเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ โดยการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ทานยารักษาควบคู่ รวมถึงรักษาปัญหาเรื่องสุขภาพอื่นๆ ที่ตามมาด้วย ซึ่งวิธีเหล่านี้มักใช้เวลารักษาอย่างน้อย 6-12 เดือน หรือมากกว่านั้น
เห็นแบบนี้แล้ว โรคอะนอเร็กเซีย น่ากลัวกว่าที่คิด ใครที่มีคนใกล้ชิดเสี่ยงเป็นโรคนี้ ควรพาเขาไปปรึกษาแพทย์เพื่อบำบัดก่อนจะสายไปนะครับ
ที่มา : www.pobpad.com