ฮีทสโตรก (Heat Stroke)
ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน เป็นปัญหาสุขภาพที่น้อยคนจะรู้ว่า อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เพราะถ้าเป็นแล้วไม่ได้รับการช่วยเหลือทันที มีโอกาสหัวใจหยุดเต้นแน่นอน
ยิ่งช่วงนี้ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่หน้าร้อน ยิ่งต้องระวัง แต่ถ้าเรารู้อาการและวิธีป้องกันพร้อมรับมือก็ไม่มีอะไรต้องกลัว ซึ่งวันนี้เราจะรู้เท่าทันกับเจ้าโรคฮีทสโตรกนี้กันครับ
โรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด คือ โรคที่เกิดขึ้นกับร่างกายที่ได้รับความร้อนมากเกินไป จนร่างกายมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้สมองในส่วนการควบคุมอุณหภูมิทำงานผิดปกติ
สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรก
อาการเบื้องต้น
– เมื่อยล้า อ่อนเพลีย
– เบื่ออาหาร
– รู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมาก
– คลื่นไส้ อาเจียน
– วิตกกังวล สับสน มึนงง ปวดศีรษะ
– ความดันต่ำ หน้ามืด
อาการเพิ่มเติม
– ไม่มีเหงื่อ
– มีอาการเพ้อ
– หายใจเร็ว รูม่านตาขยาย ชัก เกร็งกล้ามเนื้อ
– ความรู้สึกตัวลดน้อยลงจนไม่รู้สึกตัว
– หมดสติ (ถ้าช่วยไม่ทัน อาจเสียชีวิต)
ผู้ที่เสี่ยงเป็น โรคฮีทสโตรก
แน่นอนว่าต้องเป็นผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น เช่น นักกีฬา ทหาร และผู้ที่เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน รวมถึงผู้ที่อดนอน ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด
วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรก
- ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว และทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 ขึ้นไป ก่อนออกจากบ้าน
- ใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน เนื้อผ้าเบาโปร่ง ไม่หนา สวมหมวกด้วยยิ่งดี
- ถ้าวันไหนต้องเผชิญกับอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม และแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ควรได้รับการดูแลเด็ก และผู้สูงอายุ เป็นพิเศษ ให้อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- นำตัวผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่ม ให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง
- ถ้าผู้ป่วยอาเจียน ให้นอนตะแคง
- พออาเจียนเสร็จให้นอนหงาย แล้วคลายเสื้อให้หลวม
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามซอกลำตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ
- ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
- ราดน้ำเย็นลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด
- ให้ดื่มน้ำเปล่าหรือเกลือแร่
- แต่ถ้ายังไม่ฟื้น ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
เห็นไหมครับว่า โรคลมแดดอันตรายกว่าที่คิด มีสิทธิ์ถึงตายได้ ทางที่ดีดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้ดีโดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุนะครับ หรือให้ประกันสุขภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยคุณดูแลเสมือนผู้ป่วยวีไอพี สนใจสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประกันภัยโทร 1737 หรือ คลิก www.tqm.co.th