อาชีพรายได้ดี แต่ทำลายสุขภาพ
อาชีพรายได้ดี ใครๆ ก็อยากทำ แต่น้อยคนจะรู้ว่าต้องแลกมาด้วยสุขภาพ วันนี้พี่หมีเลยนำ 8 อาชีพรายได้ดี แต่ทำนานๆ เสี่ยงทำลายสุขภาพ จะใช่อาชีพที่คุณใฝ่ฝันหรือไม่ มาดูกัน!!
1. ทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์
ถึงจะเป็นอาชีพที่รายได้ดี แต่กลับเป็นอาชีพที่เสี่ยงทำลายสุขภาพสูงสุดอันดับ 1 เป็นอาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารปนเปื้อน เชื้อโรคภายในช่องปากของคนไข้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ แถมยังต้องนั่งทำงานนานๆ ทั้งวัน
2. แอร์โฮสเตสและสจ็วต

อาชีพเทพบุตรกับนางฟ้า นี่อาจจะเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน ด้วยเครื่องแบบที่ดูดีมีชาติตระกูลกับรายได้สายเปย์ แต่ถ้าดูให้ดี อาชีพนี้ต้องพบปะกับผู้อื่นมากหน้าตาหลากเชื้อชาติ อำนวยความสะดวก ทักทายผู้โดยสาร บริการสารพัด และที่สำคัญคือ จะปฏิเสธไม่ให้บริการไม่ได้ เกิดผู้โดยสารเป็นโรคติดต่อ แอร์โฮสเตสก็รับเข้าไปเต็มๆ จึงจัดให้เป็นอาชีพเสี่ยงทำลายสุขภาพ อันดับ 2 รองจากทันตแพทย์
3. วิสัญญีแพทย์ หรือ หมอวางยาสลบ
ผู้ที่ทำงานร่วมกับแพทย์ผ่าตัด มีหน้าที่ประเมินผู้ป่วยก่อนเริ่มผ่าตัด และวางยาสลบเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บปวดของคนไข้ มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยอย่างมาก เพราะต้องคอยแนะนำผู้ป่วยในสิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติหลังการผ่าตัดเสร็จ อาชีพนี้จึงมีความเสี่ยงทำลายสุขภาพพอๆกับอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยเสี่ยงติดต่อโรคจากการสัมผัสสารปนเปื้อนและรังสี
4. นักบาทานามัย

ผู้วินิจฉัยและรักษาความผิดปกติที่เกิดกับเท้าของคนเรา เป็นอาชีพที่ทางสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญ เพราะคนส่วนใหญ่ใช้เท้าหาเลี้ยงชีพ จึงกลายเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงลิบ ประมาณ 2 ล้านบาทขึ้นไป ต่อปี แต่อย่างว่าคือต้องสัมผัสกับเท้าที่มีเชื้อโรคและรังสีจากอุปกรณ์ทางการแพทย์
5. นักวิทยาศาสตร์ ทางมิญชวิทยา
ต้องเตรียมสไลด์เนื้อเยื่อเพื่อทำการวินิจฉัยด้วยกล้องจุลทรรศน์ อาจมีการสัมผัสถูกเนื้อตัวบ้างแบบไม่รู้ตัว ซึ่งเนื้อเยื้อเหล่านั้นอาจมีเชื้อที่ไม่เป็นมิตรกับร่างกายคนเรา เสี่ยงต่อการเป็นโรคได้
6. ผู้ชำนาญด้านการบำบัดน้ำ

อาชีพควบคุมกระบวนการทำงานของเครื่องจักรที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ซึ่งแน่นอนว่ามีเชื้อโรคและสารปนเปื้อยที่เป็นอันตราย หากสัมผัสกับกากเสียหรือสูดดมกลิ่นของการเผาไหม้ เสี่ยงต่อการระคายเคืองและระบบทางเดินหายใจที่แย่ลง
7. วิศวกรควบคุมประจำหม้อน้ำ

หม้อที่ว่า หมายถึง หม้อต้มที่ใช้เพื่อการอุตสาหกรรม หรือใช้ในโรงงานเพื่อสาธารณูปโภค ด้วยสภาพแวดล้อมการทำงานที่เต็มไปด้วยเครื่องจักร ที่เป็นอันตราย และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือข้อผิดพลาดจนไฟฟ้าช็อต และต้องสัมผัสกับวัสดุที่เป็นอันตราย จึงทำให้อาชีพนี้ติดอันดับเสี่ยงทำลายสุขภาพเช่นกัน
8.ผู้ช่วยศัลยแพทย์
มาถึงอาชีพสุดท้ายที่ทำร้ายได้เข้าท่า แต่ทำลายสุขภาพ ผู้ช่วยศัลยแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงานอยู่ในห้องทางการแพทย์ และช่วยศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดคนไข้ ต้องสัมผัสกับเชื้อโรคและสารปนเปื้อย และเผชิญหน้ากับสภาวะที่เป็นอันราย เป็นอันดับ 8
รายได้ดีงามพระรามแปด แต่ต้องแลกมาด้วยสุขภาพของเรา แล้วมานั่งเสียใจที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลแสนแพงกันสะหมดตัว ทางที่ดีหาตัวช่วยอย่างประกันสุขภาพไว้คอยวางแผนการเงินให้ แถมได้รับการรักษาและบริการแบบ vip มีเงินเหลือใช้ในอนาคต ไว้ไปกินเที่ยวช้อปเล่นชิวๆ หลังออกจากโรงพยาบาลกันดีกว่าเยอะเลย
ที่มา : www.manager.co.th