ยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิด ทางเลือกใหม่สำหรับคุณแม่ชอบลืมกินยาคุม แต่ยังไม่พร้อมจะทำหมั่น แต่ของแบบนี้ต้องศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิดให้ดีก่อน หรือแม้แต่ผลข้างเคียงที่จะตามมา หากฝังยาไปแล้วจะรับอาการเหล่านั้นได้หรือไม่ วันนี้ หมีหมี จะพาไปรู้ลึกถึงข้อดี-ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด และผลข้างเคียงกันครับ
ยาคุมฝังกำเนิดมีลักษณะเป็นแท่งพลาสติกบางๆ เล็กนิดเดียว และโค้งงอได้ จะถูกฝังลงไปใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน ในตัวยาจะมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า โปรเจสเทอโรน จะถูกปล่อยเข้าไปช่วยกระตุ้นให้เยื้อบุมดลูกชั้นในหนาขึ้น เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์หรือคุมกำเนิดชั่วคราวนั่นเอง
ซึ่งยาตัวนี้ เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องการเว้นช่วงระยะครรภ์ ประมาณ 2-5 ปี แบบไม่ต้องทำหมัน ไม่ต้องทานยาคุม แต่ก็ต้องระวังผลข้างเคียง อย่างเช่น ปวดแขนบริเวณที่ฝังยาคุมกำเนิด อาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย อารมณ์แปรปวน ประจำเดือนมากะปริดกะปรอย และน้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยาฝังคุมกำเนิดยังมี “ข้อดีและข้อเสียที่ควรรู้ไว้เพื่อเตรียมตัวรับมือได้” ดังนี้
ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด
- ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก มีอัตราเสี่ยงตั้งครรภ์แค่ร้อยละ 0.05 และที่แน่ๆ ดีกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดแบบเม็ด
- เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี
- ช่วยลดโอกาสการลืมกินยา ไม่ต้องรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน
- ไม่ได้รับผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นฝ้า ฯลฯ จากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อยู่ในยาคุมกำเนิดรูปแบบอื่น
- สามารถเลิกใช้เมื่อใดก็ได้ เมื่อต้องการจะมีบุตรหรือเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น
- ไม่มีผลต่อการหลั่งของน้ำนม คุณแม่ลูกอ่อนสามารถใช้ได้
- ไม่ส่งผลรบกวนต่อระบบการทำงานของตับ
- หลังจากถอดออกจะสามารถมีลูกได้เลย เนื่องจากฮอร์โมนกระจายออกในปริมาณน้อยและไม่มีการสะสมในร่างกาย
- มีผลพลอยได้จากการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ทำให้อาการปวดประจำเดือนมีน้อยลง, ลดโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูก, ป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, ลดอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจาง ฯลฯ
ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด
- การฝังและการถอด ต้องทำโดยแพทย์ที่ได้รับการอบรมแล้ว
- ต้องใส่ผ้าอนามัยอยู่เสมอ เนื่องจากจะมีประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย และบางครั้งก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว (แต่เมื่อผ่านระยะหนึ่งปีขึ้นไปแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะน้อยลง)
- อาจพบภาวะแทรกซ้อนหลังการฝังยาคุมกำเนิดได้ เช่น มีก้อนเลือดคั่งบริเวณที่กรีดผิวหนัง
- อาจพบว่าตำแหน่งของแท่งยาเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม
ที่มา : https://medthai.com